RWD : RLT-24 Veterinary Laser Therapy – ทำไมถึงจำเป็นต้องมีบริการรักษาด้วยเลเซอร์ ?

RWD : RLT-24 Veterinary Laser Therapy – ทำไมถึงจำเป็นต้องมีบริการรักษาด้วยเลเซอร์ ? เทคโนโลยีการรักษาด้วยเลเซอร์ที่นำมาใช้ RLT-24 Veterinary Laser Therapy จะปล่อยลำแสงที่สามารถทะลุทะลวงได้ลึกสุดถึงชั้นกระดูก และมีหลักการในการปล่อยลำแสงอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย คุณสมบัติของลำแสงเลเซอร์ ตัวอย่างการรักษาด้วยเลเซอร์จาก RWD การใช้เลเซอร์รักษาอาการบาดเจ็บในช่องปากหลังจากได้รับการถอนฟันพบว่ามีอาการปวด เหงือกบวม จึงใช้ RWD RLT-24 VeterinaryLaser Therapy ด้วยระบบการรักษาภายในช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ ผลปรากฎว่าหลังจากได้รับการรักษาผ่านไปสามชั่วโมงน้องแมวสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติแสดงถึงอาการปวดและบวมที่ลดลงภายในระยะเวลาสั้นๆ ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง RWD RLT-24 Veterinary Laser Therapy สามารถทำงานได้อย่างดีในการรักษาโรคเกี่ยวข้องกับผิวหนังและครอบคลุมโรคทางผิวหนังได้กว่า 80 % Case เบื้องต้นน้องสุนัขถูกเลี้ยงแบบปล่อยให้คลุกคลีกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดอาการ eczema จากนั้นสัตวแพทย์ได้ทำการรักษาด้วยการให้ยาพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์โดยตรงกับผิวหนัง หลังจากที่รับการรักษาได้เพียง 4 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ พบการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก เครื่องรักษาด้วยเลเซอร์จากทาง RWD RLT-24 Veterinary Laser Therapy สามารถปล่อยลำแสงเลเซอร์เพื่อการรักษาได้ลึกถึงชั้นกระดูกของน้องสัตว์ ดังนั้นจึงสามารถทำการรักษาโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นกับกระดูกหรือข้อต่อต่างๆ […]

Microscopy in Virology

Coronavirus SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรค Covid-19 ซึ่งเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาด และเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน ส่งผลกระทบในทุก ๆ ด้านต่อโลก ดังนั้นการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาโรค และต่อสู้กับไวรัสสายพันธุ์นี้จึงได้รับความสำคัญมากที่สุดในปี 2020 กล้องจุลทรรศน์เข้ามามีบทบทสำคัญในการวิจัยทางด้านไวรัสวิทยา เนื่องจากเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเกาะตัว การเพิ่มจำนวนของไวรัส หรือรวมไปถึงการศึกษาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้มีการนำกล้องจุลทรรศน์หลากหลายชนิดมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในบทความนี้จะเป็นการสรุปว่าเหตุใดกล้องจุลทรรศน์จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในด้านไวรัสวิทยา นอกจากนี้ได้มีการยกตัวอย่างเทคโนโลยีของกล้องจุลทรรศน์ใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านไวรัสวิทยาอีกด้วย การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ที่หลากหลายสำหรับไวรัสวิทยา การประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงสำหรับนักไวรัสวิทยานั้นกว้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ โดยมีจุดประสงค์มากมายไม่ว่าจะเป็น ใช้ในการศึกษา Immunofluorescence หรือการศึกษา Fluorescent protein ซึ่ง Immunofluorescence จะเป็นการศึกษาเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่มีการย้อมโปรตีนที่สนใจด้วยสารเรือแสง (Fluorescein) ที่ติดกับ Antibody ในขณะที่ Fluorescent protein จะพบในการศึกษาเซลล์มีชีวิต (Live-cell imaging) ซึ่งการใช้กล้องจุลทรรศ์ในงานวิจัยด้านนี้มีตั้งแต่กล้องจุลทรรศน์แบบ Widefield ตลอดจนถึงกล้องจุลทรรศน์ชนิด Confocal ไปจนถึงกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง (Super-resolution microscopy) นอกจากนี้ยังมีการใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิด Laser microdissection […]

งานด้านพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยา

งานด้านพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยา กับ งานวิจัยเกี่ยวกับ COVID-19 เป็นที่รู้กันทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 จนถึงเวลานี้ (ปี 2020) ไวรัสโคโรนาได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19; โควิด-19) จะทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด และจะลุกลามไปยังปอด สามารถทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ ปัจจุบันวัคซีนเพื่อรักษาและป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาได้รับการวิจัยอย่างเข้มข้นและเข้าใกล้ความจริงขึ้นเรื่อยๆ โดยงานทางด้านพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยา ก็เป็ส่วนหนึ่งของการหาคำตอบ และ หนทางสู่ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อการรักษา หลายการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา จะพบผลกระทบในระบบหายใจ และ ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นส่วนมาก โดยผู้ป่วยที่มีการพบเชื้อไวรัสบริเวณระบบหายใจส่วนบน จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในขณะที่ผู้ป่วยที่พบเชื้อบริเวณส่วนล่างของระบบทางเดินหายใจ จะพบอาการปอดอักเสบและสามารถพัฒนาไปจนถึงอวัยวะล้มเหลวได้ซึ่งคือสาเหตุของการเสียชีวิต ตัวอย่างภาพการศึกษาทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยที่พบเชื้อไวรัสโคโรนาในระบบทางเดินหายใจ (ปอด) จากภาพ (A) การแทรกซึมของเนื้อเยื่อปอดโดยเซลล์อักเสบโดย โมโนนิวเครียสพร้อมด้วยการทำลายเนื้อเยื่อบุผิวและมีการก่อตัวของไฮยาลีนเมมเบรน (บริเวณลูกศรชี้) (B) ไฮยาลีนเมมเบรนที่ไม่มีสัญญาณของการอักเสบ (C) ของเหลวปริมาณหนาด้วย Hyperplasia ของ Type II alveolar epithelium (D) การพบเม็ดเลือดแดงในช่องว่างของ Alveolar ที่ก่อตัวเป็น Fibrin plug […]

How to sanitize a microscope: มาทำความสะอาดกล้องจุลทรรศน์กันเถอะ!!

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า และโรคติดต่ออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งกล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่มีผู้ใช้งานหลายคนใช้งานร่วมกัน และอาจกลายเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการทำความสะอาดกล้องจุลทรรศน์หลังจากการใช้งาน จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ โดยทั่วไปแล้ววิธีที่ถูกแนะนำอย่างแพร่หลายก็คือการใช้ผ้า หรือกระดาษชุบกับสารทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอลความเข้มข้น 70% เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวของกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้น และระยะเวลาในการสัมผัส (Contact time) ผู้ใช้งานสามารถทำความสะอาดเครื่องมือตามวิธีการที่อยู่ในคู่มือการใช้งานของกล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด และมีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้งาน และเครื่องมือ ในส่วนของสารทำความสะอาดอื่นที่มีฤทธิ์รุนแรงมากขึ้นเช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ในกรณีที่คู่มือการใช้งานไม่ได้มีการระบุ หรือแนะนำเอาไว้ แต่ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องใช้สารทำความสะอาดเหล่านั้นในการทำความสะอาดเครื่องมือ เพื่อให้มีความมั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพการทำความสะอาด ผู้ใช้งานสามารถทดสอบสารทำความสะอาดนั้นกับพื้นผิวของเครื่องมือในส่วนพื้นที่เล็กๆ เพื่อดูฤทธิ์การกัดกร่อนจากสารทำความสะอาดนั้นๆได้ ว่ามีฤทธิ์ทำลายพื้นผิวของเครื่องมือหรือไม่ เพื่อที่จะได้เลือกใช้ชนิดและความเข้มข้นที่มีความเหมาะสมต่อเครื่องมือ ที่มา : https://www.leica-microsystems.com/science-lab/how-to-sanitize-a-microscope/เรียบเรียงโดย : อรวรา ฤทธิ์อุดมพล, Application specialist – Microscopy

ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ 2D และ 3D

เพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนในการทำงานของคุณด้วยซอฟต์แวร์ LAS X ของกล้องจุลทรรศน์ดิจิตอล DVM6 จาก Leica Microsystems LAS X. ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการรับภาพสแกน 2D และ 3D ทำให้กระบวนการทำงานของคุณ ชัดเจนขึ้น ง่ายขึ้น และใช้งานง่าย คล่องตัวและการนำทางที่รวดเร็ว โดยทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบของคุณได้เร็วขึ้น และจะแนะนำคุณเกี่ยวกับที่มาของภาพการวัด และการทำรายงานซึ่งมีขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือได้ของผลลัพธ์ ให้การทำงานที่ตรงไปตรงมาสำหรับระบบ DVM6 เพื่อให้งานของคุณเสร็จเร็วขึ้น ใช้งานง่าย คุณจะมองเห็นรายละเอียดจากภาพใหญ่ไปจนถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุดในทันที และสามารถทำงานต่อไปได้อย่างง่ายดายแม้ว่าจะต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ก็ตาม เนื่องจากตัวอย่างจะอยู่ในโฟกัสเสมอและด้วยฟังก์ชั่นการเอียงของตัวกล้อง คุณก็สามารถสังเกตตัวอย่างของคุณจากมุมต่างๆได้ถึง ± 60 ° ทำไม Leica DVM6 จึงช่วยคุณประหยัดเวลา ช่วงซูมถึง 16: 1 ทำให้การเปลี่ยนระหว่างกำลังขยายเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ กำลังขยายสูงสุดได้ถึง 2350 เท่าและแสดงรายละเอียดสูงสุดถึง 0.4 ไมโครเมตรและในขณะเดียวกัน มุมมองในการมองภาพตั้งแต่ 35 มม. ถึง 0.18 มม. ที่ระดับโฟกัสเดียวกัน ควบคุมการทำงานด้วยมือเดียว คุณก็กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ […]

Tissue processing – การเตรียมชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

ถ้าพูดถึงขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญทางด้าน พยาธิวิทยา หรือ Histology ก็คือขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างอย่างมี คุณภาพ ใช้งานง่าย และ ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน รองรับขั้นตอนและตัวอย่างที่หลากหลาย โดยเครื่องเตรียมชิ้นเนื้อ “ASP6025 – Automated Vacuum Tissue Processor” มี Magnetic stirrer และ Vacuum เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเตรียมชิ้นเนื้อ และยังสามารถตั้งโปรแกรมได้มากถึง 20 โปรแกรมเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลายต่อชิ้นงาน และมีระบบที่ช่วยลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรง ด้วยระบบการจัดการสารเคมี หรือ Reagent management system พร้อมทั้งมีตัววัดความเข้มข้นของปริมาณ Ethanol ภายในตัวเครื่อง (density sensor) เพื่อใช้งานควบคู่กับระบบเคลื่อนย้ายสารอัตโนมัติภายในตัวเครื่อง (Auto rotation) ลดขั้นตอนในการสัมผัสเพื่อเปลี่ยนสารเคมีที่ไม่ใช้งานแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีผ่านระบบ Fill & Drain ด้วยท่อจากภายนอกตัวเครื่อง เครื่องเตรียมชิ้นเนื้อ ASP6025 – Automated Vacuum Tissue Processor เป็นระบบปิด ป้องกันกลิ่นสารเคมีรบกวนด้วย Activated-carbon ฟีลเตอร์ […]

กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอเพื่อการศึกษาสำหรับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รุ่น Leica EZ4 W & EZ4 E

กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอเหล่านี้เป็นแนวทางการศึกษาแบบไร้สายสำหรับห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ความละเอียด กล้อง 5 ล้านพิกเซลในตัวสามารถสตรีมภาพ HD แบบสดไปยังสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของนักเรียนได้ นอกจากนั้นนักเรียนสามารถเชื่อมต่อกับ EZ4 W ผ่านสัญญาณ Wi-Fi ภายในของตัวเองหรือผ่านเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวก EZ4 E ใช้เครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเฉพาะ (WLAN หรือ LAN) เพื่อให้นักเรียนเชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ นี่เป็นทางออกที่ดีหากคุณไม่ต้องการเพิ่มจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi เพิ่มเติมให้กับแนวคิดเครือข่ายไร้สายที่คุณมีอยู่ สำหรับอุปกรณ์มือถือดาวน์โหลด Leica AirLab App! ไม่เสียค่าใช้จ่ายและมีให้บริการทั้ง IOS และ Android ด้วยการควบคุมหน้าจอสัมผัสที่ใช้งานง่ายนักเรียนสามารถจับภาพใส่คำอธิบายประกอบจัดเก็บและแบ่งปันภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย กล้องยังสามารถเข้าถึงได้ด้วย Windows PC หรือ MAC ที่เปิดใช้งาน Wi-Fi สำหรับหน้าจอ HD แบบสแตนด์อโลนหรือการฉายภาพขนาดใหญ่คุณสามารถใช้การเชื่อมต่อ HDMI Camera modes for all situations โหมดกล้อง Change views -7-way LED illumination Zoom […]

เทคนิคการย้อมสี Hematoxylin และ Eosin

เทคนิคการย้อมสี Hematoxylin และ Eosin เมื่อพูดถึงการทำงานทางด้านวิทยาเนื้อเยื่อ หรือ Histology แล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญในการวินิจฉัย และศึกษาตัวอย่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์ คือการย้อมสีสไลด์ โดยสีย้อมและเทคนิคการย้อมที่ใช้เป็นขั้นพื้นฐานคือ Hematoxylin และ Eosin โดยสี Hematoxylin จะมีลักษณะสีเป็นน้ำเงินอมม่วง จะย้อมติดที่ Nucleus ของเซลล์ และในส่วน Eosin จะจะมีลักษณะสีแดงอมส้ม ย้อมติด Cytoplasm ทั้งนี้ สีทั้ง 2 ชนิดนั้นก็มีเทคนิคการย้อมอยู่ 2 รูปแบบ คือ Regressive และ Progressive เทคนิค Regressive คือ เทคนิคการย้อมแบบย้อนกลับ โดยสี Hematoxylin จะมีความเข้มสูง เมื่อย้อมใส่ตัวอย่างจะให้การติดสีที่เข้มมาก ต้องใช้กรดแก่ในการล้างสีส่วนเกินออกเพื่อให้ได้ความเข้มตามที่ผู้ใช้ต้องการ สีชนิดนี้ชื่อว่า Harris Hematoxylin ในขณะ เทคนิค Progressive คือ เทคนิคการย้อมแบบไปข้างหน้า โดยสี Hematoxylin […]

เพิ่มประสิทธิภาพในทำงานได้เร็วขึ้นถึง 20% ด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ S9 ซีรี่ส์

เพิ่มประสิทธิภาพในทำงานได้เร็วขึ้นถึง 20% ด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ S9 ซีรี่ส์ ปรับปรุงการผลิตอย่างต่อเนื่อง , ควบคุม Defect ให้น้อยลง , และการตอบสนองความให้เพียงพอต่อความการของลูกค้า เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก , Leica จึงได้มีการพัฒนากล้องจุลทรรศน์สเตอริโอรุ่น S9 ขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ จุดเด่นของ Leica S9 คือเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพของแสงที่โดดเด่น และมีเทคนิค Fusion Optics ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มระยะโฟกัสให้สูงขึ้นถึง 3 เท่า ด้วยพื้นที่โฟกัสที่กว้างขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถระบุตำแหน่งที่ต้องการจะตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการปรับระยะโฟกัสของกล้องจุลทรรศน์อยู่ ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานด้วยการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประหยัดเวลาการทำงานได้สูงสุดถึง 20% ด้วย Leica S9

ใช้เวลาน้อยลง90% : การผสมผสานของกล้องจุลทรรศน์ Leica และ LIBS

ใช้เวลาน้อยลง90% : การผสมผสานของกล้องจุลทรรศน์ Leica และ LIBS ทำให้การตรวจสอบภาพและการวิเคราะห์ทางเคมีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาที กล้องจุลทรรศน์ LEICA DM6 M LIBS วิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค การวิเคราะห์ด้วย LIBS LIBS ย่อมาจาก Laser Induced Breakdown Spectroscopy (เลเซอร์สเปกโทรสโกปี) แสงเลเซอร์ทรงพลังที่ปล่อยออกมาอย่างเป็นจังหวะเพื่อลอกเศษขนาดเล็กของวัสดุตัวอย่างและสร้างพลาสมา เมื่อพลาสมาเย็นลงจะปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นออกมา หรือที่เรียกว่า “สเปกตรัม” โดยสเปกตรัมนี้จะถูกใช้เป็นลายนิ้วมือทางเคมีของวัสดุผ่านภาพของกล้องจุลทรรศน์ การผสมผสานของกล้องจุลทรรศน์ Leica และ LIBS ทำให้การตรวจสอบภาพและการวิเคราะห์ทางเคมีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาที อนุภาคจะสามารถตรวจพบได้โดยการวิเคราะห์ภาพและวัสดุที่ระบุในขั้นตอนเดียว และสามารถวิเคราะห์งานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการเตรียมผิวชิ้นงาน การวิเคราะห์ความลึกและการวิเคราะห์ชั้นวัสดุ หลักการแสงเลเซอร์สามารถยิงทะลุผิวชิ้นงานเพื่อทดสอบค่าวัสดุระดับไมครอน การใช้งานของการยิงทะลุผิวชิ้นงาน เช่น: การดูความลึกเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบพื้นผิวงานที่เปลี่ยนรูปร่างไป การวิเคราะห์ชั้นสามารถใช้เพื่อค้นหาองค์ประกอบของแต่ละชั้นในวัสดุ ตัวอย่างของวัสดุชั้นจะเป็นโลหะเคลือบหลายชั้นหรือทาสี ใช้การทำความสะอาดพื้นผิวเพื่อกำจัดออกไซด์และการปนเปื้อน ข้อดีของ Leica DM6 M LIBS ในด้านความสะอาดเชิงเทคนิค