Coronavirus SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรค Covid-19 ซึ่งเป็นโรคที่มีการแพร่ระบาด และเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน ส่งผลกระทบในทุก ๆ ด้านต่อโลก ดังนั้นการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางการรักษาโรค และต่อสู้กับไวรัสสายพันธุ์นี้จึงได้รับความสำคัญมากที่สุดในปี 2020
กล้องจุลทรรศน์เข้ามามีบทบทสำคัญในการวิจัยทางด้านไวรัสวิทยา เนื่องจากเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเกาะตัว การเพิ่มจำนวนของไวรัส หรือรวมไปถึงการศึกษาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้มีการนำกล้องจุลทรรศน์หลากหลายชนิดมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ในบทความนี้จะเป็นการสรุปว่าเหตุใดกล้องจุลทรรศน์จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในด้านไวรัสวิทยา นอกจากนี้ได้มีการยกตัวอย่างเทคโนโลยีของกล้องจุลทรรศน์ใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางด้านไวรัสวิทยาอีกด้วย
การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ที่หลากหลายสำหรับไวรัสวิทยา
การประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงสำหรับนักไวรัสวิทยานั้นกว้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ โดยมีจุดประสงค์มากมายไม่ว่าจะเป็น ใช้ในการศึกษา Immunofluorescence หรือการศึกษา Fluorescent protein ซึ่ง Immunofluorescence จะเป็นการศึกษาเซลล์ หรือเนื้อเยื่อที่มีการย้อมโปรตีนที่สนใจด้วยสารเรือแสง (Fluorescein) ที่ติดกับ Antibody ในขณะที่ Fluorescent protein จะพบในการศึกษาเซลล์มีชีวิต (Live-cell imaging) ซึ่งการใช้กล้องจุลทรรศ์ในงานวิจัยด้านนี้มีตั้งแต่กล้องจุลทรรศน์แบบ Widefield ตลอดจนถึงกล้องจุลทรรศน์ชนิด Confocal ไปจนถึงกล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง (Super-resolution microscopy)
นอกจากนี้ยังมีการใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิด Laser microdissection อีกด้วย ในบทความตอนหน้าจะเป็นการยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์กับงานทางด้านไวรัสวิทยาที่น่าสนใจ และเป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ฝากติดตามค่ะ…
ที่มา : https://www.leica-microsystems.com/science-lab/microscopy-in-virology/
เรียบเรียงโดย : อรวรา ฤทธิ์อุดมพล, Application specialist – Microscopy