งานด้านพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยา กับ งานวิจัยเกี่ยวกับ COVID-19
เป็นที่รู้กันทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 จนถึงเวลานี้ (ปี 2020) ไวรัสโคโรนาได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19; โควิด-19) จะทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด และจะลุกลามไปยังปอด สามารถทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ ปัจจุบันวัคซีนเพื่อรักษาและป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาได้รับการวิจัยอย่างเข้มข้นและเข้าใกล้ความจริงขึ้นเรื่อยๆ โดยงานทางด้านพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยา ก็เป็ส่วนหนึ่งของการหาคำตอบ และ หนทางสู่ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อการรักษา
หลายการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา จะพบผลกระทบในระบบหายใจ และ ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นส่วนมาก โดยผู้ป่วยที่มีการพบเชื้อไวรัสบริเวณระบบหายใจส่วนบน จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในขณะที่ผู้ป่วยที่พบเชื้อบริเวณส่วนล่างของระบบทางเดินหายใจ จะพบอาการปอดอักเสบและสามารถพัฒนาไปจนถึงอวัยวะล้มเหลวได้ซึ่งคือสาเหตุของการเสียชีวิต
ตัวอย่างภาพการศึกษาทางพยาธิวิทยาของผู้ป่วยที่พบเชื้อไวรัสโคโรนาในระบบทางเดินหายใจ (ปอด)
จากภาพ (A) การแทรกซึมของเนื้อเยื่อปอดโดยเซลล์อักเสบโดย โมโนนิวเครียสพร้อมด้วยการทำลายเนื้อเยื่อบุผิวและมีการก่อตัวของไฮยาลีนเมมเบรน (บริเวณลูกศรชี้) (B) ไฮยาลีนเมมเบรนที่ไม่มีสัญญาณของการอักเสบ (C) ของเหลวปริมาณหนาด้วย Hyperplasia ของ Type II alveolar epithelium (D) การพบเม็ดเลือดแดงในช่องว่างของ Alveolar ที่ก่อตัวเป็น Fibrin plug (E) การแพร่กระจายของ Hyperplasia ของ Type II alveolar epithelium และปรากฎ Fibrinoid vascular necrosis (F) การแพร่กระจายของ Neutrophils ที่ทำให้เกิดการอักเสบ บ่งบอกถึงภาวะ หลอดลม – ปอดอักเสบ
จะเห็นได้ว่าการศึกษาผลกระทบของไวรัสโคโรนา โดยการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยมาศึกษาในกรณีตัวอย่างนี้ เป็นเนื่อเยื่อที่มาจากปอดของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งช่วยบ่งบอกถึงรอยโรคได้อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการทางพยาธิวทิยาและเซลล์วิทยา หากขาดกระบวนการเหล่านี้ไปจะทำให้การศึกษา การวิจัย รวมกระทั่งการวินิจฉัยในเชิงลึกทำได้ยาก ดังนั้นการศึกษาทางพยาธิวิทยาและเซลล์วิทยาเหล่านี้ล้วนต้องใช้เครื่องมือ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัท Histocenter (Thailand) ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางด้านพยาธิวิทยา ของ Leica Biosystem ขอเป็นส่วนหนึ่งในการจำหน่ายอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยสามารถติดตามข้อมูลเครื่องมือต่างๆได้ที่ www.histocenter.co.th
ที่มา : Deshmukh V, et al. J Clin Pathol 2020;0:1–8. doi:10.1136/jclinpath-2020-206995
เรียบเรียงโดย : วีรกรณ์ นาคทอง, Application Specialist