รู้หรือไม่ว่าเทคนิคการตัดตัวอย่างให้บางด้วย Microtome มีมาตั้งแต่ประมาณปีคริสตศักราช 1865 โดย Wilhelm His, Sir นักกายวิภาคศาสตร์ชาวสวิตซ์ แต่การประดิษฐ์ในครั้งนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำวิจัยบางอย่างที่ต้องอาศัยการศึกษา การตัดตัวอย่างแทนการตัดด้วยมือ เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่มีความบางและแม่นยำ โดยคำว่า Microtome ถูกระบุไว้เป็นภาษาเยอรมันว่า Mikrotoms
ในยุคแรกของการผลิตเครื่อง ไม่พบเอกสารที่ระบุชัดเจนหรือแพร่กระจายอย่างกว้างขวางถึงต้นของ Microtome เนื่องมาจากเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งสำหรับการตัดตัวอย่างให้มีขนาดบางเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเครื่อง Microtome ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันชนิดของ Microtome มีลักษณะที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับของการใช้งานของตัวอย่างที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Rotary, Cryomicrotome, Sledge, Ultramicrotome, Vibrating microtome, Saw, และ Laser Microtome โดยทุกชนิดของ Microtome ล้วนมีวัตุประสงค์เพื่อการตัดตัวอย่าง ทั้งชิ้นเนื้อ พืช หรือ วัสดุ ให้มีความบางและสามารถ วิเคราะห์ หรือตรวจสอบ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ได้
นอกจากนี้ รู้หรือไม่ว่า Leica เองก็มีส่วนในการร่วมพัฒนาและยังเป็นผู้นำในการพัฒนาและผลิตเครื่อง Microtome มายาวนานมากกว่า 145 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่อง Microtome ของ Leica มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม แต่ว่าเทคโนโลยีที่ Leica นำมาใช้งานร่วมกับ Microtome มีอะไรบ้างนั้น ติดตามกันได้ในบทความต่อไป
เรียบเรียงโดย วีรกรณ์ นาคทอง – Clinical Application Specialist