การค้นหาความจริงของ Covid-19
Covid-19 คงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักโรคนี้ ด้วยความรุนแรงของอาการ และการแพร่ระบาดได้ง่าย ส่งผลให้โรคนี้ยิ่งทวีความรุนแรงจนคนทั้งโลกตื่นกลัว ทุกอย่างหยุดชะงัก คนตื่นตระหนก และพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก ด้วยความรุนแรงเช่นนี้จึงได้มีนักวิจัยมากมายจากทั่วทุกมุมโลกต่างพากันค้นหาความจริง สาเหตุ และแนวทางในการรักษาเพื่อทำให้ทุกคนในโลกกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติได้
ในออสเตรเลียก็เป็นอีกประเทศเช่นกันที่มีการระบาดของโรคนี้ โดยมีนักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสนี้ ซึ่งได้นำมาจากผู้ป่วยรายแรกที่พบในประเทศ โดยได้มีการนำสารคัดหลั่งของผู้ป่วยมาทำการหาทั้งการใช้ Real time PCR, การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หรือแม้กระทั่งการใช้กล้องจุลทรรศน์ โดยได้มีการเลี้ยงเซลล์และมีการหา cytopathic effect (CPE) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส โดยพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 6 วันเซลล์ Vero/hSLAM ที่มีการติดเชื้อไวรัสจะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (viral cytopathic effect) (ภาพที่ 1A) โดยสามารถเปรียบเทียบเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัสและเซลล์ปกติได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบเฟสคอนทราสต์
ภาพที่ 1 เซลล์ Vero/hSLAM ที่มีการติดเชื้อไวรัส (A) และเซลล์ปกติ (B) จากกล้องจุลทรรศน์
ที่มา: Caly, L. และคณะ (2020)
ในการทำงานเพาะเลี้ยงเซลล์นั้นกล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ โดยทาง Leica ได้มีกล้องจุลทรรศน์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานเพาะเลี้ยงเซลล์โดยเฉพาะนั่นคือรุ่น Paula ซึ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบหัวกลับที่มีความฉลาด มีโปรแกรมวิเคราะห์ได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของนักวิจัย และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ตัวกล้องมีขนาดเล็กกระทัดรัดสามารถนำไปวางไว้ในตู้ incubator เพื่อทำการเลี้ยงเซลล์ ติดตามเซลล์ และสามารถถ่ายภาพแบบ time lapse ได้ นอกจากนี้ Leica ยังพัฒนา Application เพื่อทำให้นักวิจัยสามารถใช้อุปกรณ์ไร้สายเช่น tablet ในการสั่งงาน Paula ทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด คุณก็สามารถดูเซลล์ของคุณได้!!
เอกสารอ้างอิง : Caly, L., Druce, J., Roberts, J., Bond, K., Tran, T., Kostecki, R., … & Schultz, M. B. (2020). Isolation and rapid sharing of the 2019 novel coronavirus (SARS‐CoV‐2) from the first patient diagnosed with COVID‐19 in Australia. Medical Journal of Australia.
เรียบเรียงโดย : อรวรา ฤทธิ์อุดมพล, Application specialist – Microscopy